หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบลบ้านเต่า ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
สำนักงานเทศบาลตำบล
บ้านเต่า
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ในเขตเทศบาลตำบล
บ้านเต่า
โบราณสถาน
ปรางค์กู่
แหล่งรวมอารยธรรมโบราณ
เทศบาลตำบล
บ้านเต่า
1
2
3
 

 
 
เริ่มนับ วันที่ 20 มี.ค. 2561
 
 
 
 
ความเชื่อเรื่องบุญเรื่องกรรม การสร้างสมบุญบารมีในกิจการทางศาสนาพุทธนั้น เป็นสิ่งที่ชาวตำบลบ้านเต่าให้ความสำคัญ งานบุญงานกุศลใดก็ตาม จะได้รับความร่วมมือจากทุกคนเป็นอย่างดี ด้วยความเชื่อว่าหากสร้างสมบุญได้มาก ก็จะทำให้สบายใจและมั่นใจได้ว่า ภพชาติหน้าตนจะมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่แล้วประเพณีหรือ
  พิธีกรรม ของชาวตำบลบ้านเต่าจะเป็นประเพณีเกี่ยวกับ การประกอบอาชีพทางการเกษตรและศาสนา ที่เด่นชัดที่สุด คือ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำนา โดยถือปฏิบัติตามประเพณี หรือขนบธรรมเนียมโบราณ เรียกว่า “ฮีต 12” มีดังนี้
 
เดือนหนึ่ง (เดือนอ้าย) - บุญเข้ากรรม
เดือนสอง (เดือนยี่) – บุญคูณลาน / บุญคูนข้าว / บุญกุ้มข้าว
 
เดือนสาม - บุญข้าวจี่
เดือนสี่ - บุญผะเหวด
 
เดือนห้า - บุญสงกรานต์ / บุญสรงน้ำ
เดือนหก - บุญบั้งไฟ
 
เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ (ชำระ)
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
 
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
 
เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
 
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลบ้านเต่า
เป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านคิดขึ้น และนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี-องค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น ได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
  ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญาของตำบลบ้านเต่าที่ยังคงหลงเหลือ และสืบทอดต่อๆ กันมาเป็นภูมิปัญญาเกี่ยวกับ กระจ้ำ (ผู้นำจิตวิญญาณ) คือ ผู้ที่มีความรู้ในด้านหมอพราหมณ์ เป็นผู้นำในการประกอบพิธีต่างๆ ในหมู่บ้าน รวมถึงบวงสรวงเสี่ยงทายโดยใช้ไม้ทำนายฟ้าฝน เล่ากันว่าในพิธีทำนายโดยใช้ไม้ทำนายฟ้าฝนนี้ กระจ้ำจะเก็บเศษไม้ยาวประมาณ 1 วา แถวบริเวณพิธี มาใช้เสี่ยงทาย เรียกว่า การเสี่ยง “ไม้วา ” รวมทั้งทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ทำพิธีปัดรังควาน ซึ่งในทุกหมู่บ้านจะมี กระจ้ำ และเป็นผู้เสี่ยง ทำนายในหมู่บ้าน
  ภาษาถิ่นของตำบลบ้านเต่า
  มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว เป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ เป็นภาษาพูด เรียกว่า “ภาษาอีสานหรือภาษาไทยอีสาน” แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ในปัจจุบันชาวตำบลบ้านเต่าโดยเฉพาะวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร แต่คนทั่วไปและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้ชาวตำบลบ้านเต่าส่วนใหญ่ จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง ชาวตำบลบ้านเต่าที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้วก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรม รวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานหรือเพลงหมอลำที่ได้รับความนิยม และจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไป
 
 
ผ้าไหมทอมือของกลุ่มเลี้ยงหม่อนไหม บ้านสะเดา (ม.9) ถือเป็นสินค้าพื้นเมืองของตำบลบ้านเต่าที่มีความสวยงาม แต่ยังต้องมีการส่งเสริมให้กลุ่ม ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคด้วย ปัจจุบันศูนย์พัฒนาหม่อนไหมชัยภูมิ ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านเต่า
  ส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น ประกอบกับผ้าไหมเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดชัยภูมิ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากพอสมควร มีนางทองวิลา ทองดี เป็นประธานกลุ่มเลี้ยงหม่อนไหม นอกจากผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือแล้ว ตำบลบ้านเต่า ยังมีกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ซึ่งมีนางเสมอ โชคบัณฑิต เป็นประธานกลุ่ม
  ตำบลบ้านเต่า ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมจากเทศบาลตำบลบ้านเต่า ในการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน อีกหลากหลายไว้คอยต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 089-276-9855